พืชจำพวกต้นพืชวัตถุสมุนไพร.ไทยหลักเภสัช ๔ ประการเภสัชวัตถุ

หมาก (หมากสง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Areca catechu L.

ต้นหมาก (หมากสง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Areca catechu L.

หมาก ไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม

ใบรสเย็นเฝื่อน สรรพคุณต้มเอาน้ำอาบ แก้คัน แก้เด็กออกไข้หัว รับประทานรสความร้อนในร่างกาย แก้ไข้

ลูก รสฝาดจัด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง  แก้อาเจียน ขับเหงื่อ ฝนทาปาก แก้ปากเปื่อย สัตว์กินขับพยาธิ 

ราก รสฝาดเย็น สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ

ทะลายหมาก รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้ตัวร้อน

ชุมเห็ดเทศ โรคกลาก  ใบชุมเห็ดเทศสด

ชื่อท้องถิ่น ชุดเห็ดใหญ่ (ภาคกลาง) , ขี้คาก , ลับมึนหลวง , หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ) , ส้มเห็ด (เชียงราย) , จุมเห็ด (มหาสารคาม) , ตะลีพอ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของพืช ชุมเห็ดเทศเป็นไม้พุ่ม ใบรูปใข่หรือรูปใข่ขอบขนาน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน  เรียงตัวเป็นแบบใบประกอบ ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักแบนยาว  มีปีก  ๔  ปีก เมล็ดในรูปสามเหลี่ยม

ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอกสด , ใบสดหรือแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบชุมเห็ดเทศขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ต้องเก็บก่อนออกดอก , เก็บดอกสดเป็นยา

รสและสรรพคุณยาไทย รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ดอกและใบต้มรับประทานแก้อาการท้องผูก

วิธีใช้ ใบและดอกชุมเห็ดเทศใช้เป็นยารักษาโรคและอาการดังนี้

๑. ท้องผูก ใช้ดอกขุมเห็ดเทศสด  ๒ – ๓ ช่อ ต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือนำใบสดมาล้างให้สะอาดหั่นตากแห้ง ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ ๑๒ ใบ หรือใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยครั้งละ ๓ เม็ด รับประทานก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก

๒. โรคกลาก ใบชุมเห็ดเทศสด ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย หรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมเท่าๆกัน ผสมปูนแดงที่กินกับหมากเล็กน้อย ตำผสมกัน ทาบริเวณที่เป็นกลาก  โดยเอาไม้ไผ่ขูดผิวให้แดงก่อน ทาบ่อยๆจนหาย หายแล้วทาต่ออีก ๗ วัน

๓. ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบชุมเห็ดเทศและก้านสด ๑ กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา แล้วเคี่ยวให้เหลือ ๑ ใน ๓ ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ ๒ ครั้ง เช้า  –  เย็น ถ้าเป็นมาให้ใช้ประมาณ ๑๐ กำมือ ต้มอาบ

พลู รับประทานกับหมาก

ชื่อท้องถิ่น เปล้าอ้วน ซีเก๊ะ (มลายู – นราธิวาส) , พลูจีน (ภาคกลาง)

ลักษณะของพืช พลูเป็นไม้เลื้อย มีข้อ และปล้องชัดเจน ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ คล้ายใบโพธิ์ปลายใบแหลม หน้าใบมัน ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่น

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบช่วงสมบูรณ์เต็มที่

รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดเป็นยาฆ่าเชื้อโรค ขับลม ตามชนบทใช้ตำกับเหล้าทาบริเวณที่เป็นลมพิษ คนแก่ใช้ทาปูนแดงรับประทานกับหมาก

วิธีใช้ ใบพลู ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ได้ผลดี กับอาการแพ้ลักษณะลมพิษโดยเอาใบ ๑ – ๒ ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็น ห้ามใช้กับแผลเปิด  จะทำให้แสบมาก

พิกัดตรีญาณรส คือ จำนวนตัวยาที่มีรสสำหรับรู้ ๓ อย่าง คือ

ไส้หมาก

รากสะเดา

เถาบอระเพ็ด

สรรพคุณ แก้ไข้ดับพิษร้อน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงไฟธาตุ เจริญอาหาร

Krit Buapan

The Demonstration of Ramkhamhaeng University.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *