พืชจำพวกเถา-เครือพืชวัตถุสมุนไพร.ไทยหลักเภสัช ๔ ประการเภสัชวัตถุ

ดีปลี ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper retrofractum Vahl.

ต้นดีปลี ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper retrofractum Vahl.

เบญจกูล หรือ พิกัดเบญจกูล

ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ  “ปัพพะตัง” บริโภคซึ่ง ผลดีปลี เชื่อว่า  อาจจะระงับอชิณโรคได้ (แพ้ของแสลง)

ลักษณะตัวยาประจำธาตุ ดอกดีปลี ประจำ ปถวีธาตุ คือ ธาตุดิน ๒๐ ประการ

ดีปลี ไม้เถาคล้ายพริกไทย เลื้อยพาดพันต้นไม้

ดอก รสร้อน สรรพคุณ แก้ปถวีธาตุพิการ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้

เถา รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้ปวดฟัน แก้ปวดท้อง แน่น จุกเสียด ท้องขึ้น อืดเฟ้อ

ดีปลี มีสรรพคุณเสมอกับ ขิง

สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน

ดีปลี

ชื่อท้องถิ่น ดีปลีเผือก (ภาคใต้) , ประดงข้อ , ปานนุ (ภาคกลาง)

ลักษณะของพืช ดีปลีไม้เลื้อย ใบรูปไข่ โคนนมปลายแหลม เป็นใบเดี่ยว คล้ายใบย่านางแต่ผิวใบมันกว่าและบางกว่าเล็กน้อย ดอกไม้เป็นรูปทรงกระลอกปลายมน เมื่อแก่กลายเป็นผลสีแดง

ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่แห้ง (หมอยารียก ดอกดีปลี)

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงที่ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก ตากแดดให้แห้ง

รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อนขม บำรุงธาตุ ขับลม แก้จุกเสียด

วิธีใช้ ผลแก่แห้งของดีปลี ใช้เป็นยารักษาอาการ ดังนี้

๑. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดจากธาตุไม่ปกติโดยใช้ผลแก่แห้ง ๑ กำมือ (ประมาณ ๑๐ – ๑๕  ดอก) ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีดอกใช้เถาต้มแทนได้

๒. อาการไอ และขับเสมหะ ใช้ผลแก่แห้ง ประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือกวาดคอ หรือจิบบ่อย ๆ

พิกัดตรีกฏุก คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสเผ็ดร้อน  ๓  อย่าง คือ

เหง้าขิงแห้ง

เมล็ดพริกไทย

ดอกดีปลี

สรรพคุณ แก้วาตะเสมหะ ปิดตะวาตะในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน

พิกัดเสมหะผล คือ จำนวนตัวยาที่มีคุณแก้เสมหะ ๓ อย่าง  คือ

ลูกช้าพลู

รากดีปลี

รากมะกล่ำเครือ

สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้สะอึก แก้เส้นอัมพฤกษ์อัมพาต แก้ลม

พิกัดเบญจกูล คือ จำกัดจำนวนตระกูลยา (เครื่องยา) ที่มีรสร้อน ๕ อย่าง คือ

ดอกดีปลี

รากช้าพลู

เถาสะค้าน

เหง้าขิงแห้ง

สรรพคุณ กระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง ๔

มหาพิกัดตรีกฏุก ตรีกฏุกเป็นพิกัดยาในวสันตฤดู (ฤดูฝน) ถ้าจะใช้แก้สมุฏฐานต่างๆ จะใช้ส่วนของตัวยาในพิกัดแตกต่างกัน ดังนี้

๑) มหาพิกัดตรีกฏูก ถ้าจะแก้เสมะหะสมุฏฐาน มีส่วนและตัวยาดังนี้

เหง้าขิงแห้ง ๘ ส่วน (ปิตตะ)

เมล็ดพริกไทย ๔ ส่วน (วาตะ)

ดอกดีปลี ๑๒ ส่วน (เสมหะ)

๒)  มหาพิกัดตรีกฏุก ถ้าจะแก้ปิตตะสมุฏฐาน มีส่วนและตัวยาดังนี้

เหง้าขิงแห้ง ๑๒ ส่วน (ปิตตะ)

เมล็ดพริกไทย ๘ ส่วน (วาตะ)

ดอกดีปลี ๔ ส่วน (เสมหะ)

๓) มหาพิกัดตรกฏุก ถ้าจะแก้วาตะสมุฏฐาน มีส่วนและตัวยาดังนี้

เหงิ้งแห้ง ๔ ส่วน (ปิตตะ)

เมล็ดพริกไทย ๑๒ ส่วน (วาตะ)

ดอกดีปลี ๘ ส่วน (เสมหะ)

มหาพิกัดเบญจกูล มีส่วนตัวยาดังนี้

รากเจตมูลเพลิง ๔ ส่วน

เถาสะค้าน ๖ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง ๑๐ ส่วน

รากช้าพลู ๑๒ ส่วน

ดอกดีปลี ๒๐ ส่วนสรรพคุณ แก่ธาตุทั้งปวงให้บริบูรณ์

อภิญญาณเบญจกูล มีส่วนตัวยาดังนี้

ใบ ดอก ราก เจตมูลเพลิง สิ่งละ ๔ ส่วน

ใบ ดอก ราก สะค้าน สิ่งละ ๖ ส่วน

ใบ ดอก ราก ขิงแห้ง สิ่งละ ๑๐ ส่วน

ใบ ดอก ราก ช้าพลู สิ่งละ ๑๒ ส่วน

ใบ ดอก ราก ดีปลี สิ่งละ ๒๐ ส่วน

สรรพคุณ แก้ในกองอภิญญาณธาตุ คือ ธาตุสำแดงให้รู้ดุจผีสิง

ทศเบญจกูล  มีส่วนตัวยาดังนี้

ดอกดีปลี ๑๐ ส่วน

เถาสะค้าน ๑๐ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง ๑๐ ส่วน

รากช้าพลู ๑๐ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง ๑๐ ส่วน

สรรพคุณ แก้ในกองธาตุทั้งปวงและสงเคราะห์ไปแก้ในโรคสตรี

โสฬสเบญจกูล สรรพคุณ แก้ในกองธาตุทั้ง ๔ และอากาศธาตุ

๑)  โสฬสเบญจกูล ถ้าจะแก้ในกองปถวีธาตุ มีส่วนและตัวยาดังนี้

ดอกดีปลี ๑๖ ส่วน

รากช้าพลู ๘ ส่วน

เถาสะค้าน ๖ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง ๔ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง ๒ ส่วน

๒)  โสฬสเบญจกูล ถ้าจะแก้กองอาโปธาตุ มีส่วนและตัวยาดังนี้

ดอกดีปลี ๑๖ ส่วน

รากช้าพลู ๘ ส่วน

เถาสะค้าน ๖ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง ๔ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง ๒ ส่วน

๓) โสฬสเบญจกูล ถ้าจะแก้ในกองวาโยธาตุ มีส่วนและตัวยาดังนี้

ดอกดีปลี ๑๖ ส่วน

รากช้าพลู ๘ ส่วน

เถาสะค้าน ๖ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง ๔ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง ๒ ส่วน

๔) โสฬสเบญจกูล ถ้าจะแก้ในกองเตโชธาตุ มีส่วนและตัวยาดังนี้

ดอกดีปลี ๑๖ ส่วน

รากช้าพลู ๘ ส่วน

เถาสะค้าน ๖ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง ๔ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง ๒ ส่วน

๕) โสฬสเบญจกูล ถ้าจะแก้ในกองอากาศธาตุ มีส่วนและตัวยาดังนี้

ดอกดีปลี ๑๖ ส่วน

รากช้าพลู ๘ ส่วน

เถาสะค้าน ๖ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง ๔ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง ๒ ส่วน

รวมกันได้ ๓๖ ส่วนโดยพิกัด  แก้ในกองธาตุสมุฏฐาน ขอให้พิจารณาดูว่าโรคจะอยู่ในสมุฏฐานใด  แก้ด้วยโสฬสเบญจกูลพิกัดใด  จึงจะเหมาะแก่การบำบัดโรคนั้น

ทศเบจขันธ์ แก้ในกองอสุรินธัญญาณธาตุ คือ ธาตุสำแดงให้รู้ดุจผีสิง ให้ระส่ำระสายอยู่ในสมุฏฐานใด แก้ด้วยโสฬสเบญจกูลพิกัดใด จึงจะเหมาะแก่การบำบัดโรคนั้น

๑) ทศเบญจขันธ์ ถ้าจะแก้ในกองปถวีธาตุ มีส่วนและตัวยาดังนี้

ดอกดีปลี ๕ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง ๔ ส่วน

เถาสะค้าน ๓ ส่วน

รากช้าพลู ๒ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง ๑ ส่วน

๒) ทศเบญจขันธ์ ถ้าจะแก้ในกองเตโชธาตุ มีส่วนและตัวยาดังนี้

รากเจตมูลเพลิง ๕ ส่วน

เถาสะค้าน ๔ ส่วน

รากช้าพลู ๓ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง ๒ ส่วน

ดอกดีปลี ๑ ส่วน

๓)  ทศเบญจขันธ์ ถ้าจะแก้ในกองวาโยธาตุ มีส่วนและตัวยาดังนี้

เถาสะค้าน ๕ ส่วน

รากช้าพลู ๔ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง ๓ ส่วน

ดอกดีปลี ๒ ส่วน

เจตมูลเพลิง ๑ ส่วน

๔) ทศเบญจขันธ์ ถ้าจะแก้ในกองอาโปธาตุ มีส่วนและตัวยาดังนี้

รากช้าพลู ๕ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง ๔ ส่วน

ดอกดีปลี ๓ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง ๒ ส่วน

เถาสะค้าน ๑ ส่วน

๕)  ทศเบญจขันธ์ ถ้าจะแก้ในกองอากาศธาตุ มีส่วนและตัวยาดังนี้

เหง้าขิงแห้ง ๕ ส่วน

ดอกดีปลี ๔ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง ๓ ส่วน

เถาสะค้าน ๒ ส่วน

รากช้าพลู ๑ ส่วน

รวมกันได้ ๑๕ ส่วน โดยพิกัด แก้ในกองอสุรินธัญญาณธาตุ

พิกัดกองเตโชธาตุกำเริบ ประจำสมุฏฐานอัคคี (ธาตุไฟ ๔ กอง)

๑) แก้เตโชธาตุกำเริบ มีส่วนตัวยาดังนี้

ลูกสมอพิเภก หนัก ๑๖ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง หนัก ๘ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง หนัก ๔ ส่วน

รากช้าพลู หนัก ๓ ส่วน

ดอกดีปลี หนัก ๒ ส่วน

เถาสะค้าน หนัก ๑ ส่วน

๒)  แก้เตโชธาตุหย่อน มีตัวยาดังนี้

รากเจตมูลเพลิง หนัก ๑๖ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง หนัก ๘ ส่วน

ลูกสมอพิเภก หนัก ๔ ส่วน

เถาสะค้าน หนัก ๓ ส่วน

รากช้าพลู หนัก ๒ ส่วน

ดอกดีปลี หนัก ๑ ส่วน

๓) แก้เตโชธาตุพิการ มีตัวยาดังนี้

เหง้าขิงแห้ง หนัก ๑๖ ส่วน

ลูกสมอพิเภก หนัก ๘ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง หนัก ๔ ส่วน

ดอกดีปลี หนัก ๓ ส่วน

เถาสะค้าน หนัก ๒ ส่วน

รากช้าพลู หนัก ๑ ส่วน

พิกัดกองวาโยธาตุ ประจำสมุฏฐานวาตะ (ธาตุลม ๖ กอง)

๑)  แก้วาโยธาตุกำเริบ มีตัวยาดังนี้

ลูกสมอไทย หนัก ๑๖ ส่วน

เถาสะค้าน หนัก ๘ ส่วน

เมล็ดพริกไทย หนัก ๔ ส่วน

ดอกดีปลี หนัก ๓ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง หนัก ๒ ส่วน

รากช้าพลู หนัก ๑ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง หนัก ๑/๒ ส่วน (ใช้ระคนกัน)

๒) แก้วาโยธาตุหย่อน มีตัวยาดังนี้

เถาสะค้าน หนัก ๑๖ ส่วน

เมล็ดพริกไทย หนัก ๘ ส่วน

ลูกสมอไทย หนัก ๔ ส่วน

รากช้าพลู หนัก ๓ ส่วน

ดอกดีปลี หนัก ๒ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง หนัก ๑ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง หนัก ๑/๒ ส่วน

๓)  แก้วาโยธาตุพิการ มีตัวยาดังนี้

เมล็ดพริกไทย หนัก ๑๖ ส่วน

ลูกสมอไทย หนัก ๘ ส่วน

เถาสะค้าน หนัก ๔ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง หนัก ๓ ส่วน

รากช้าพลู หนัก ๒ ส่วน

ดอกดีปลี หนัก ๑ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง หนัก ๑/๒ ส่วน (ใช้ระคนกัน)

พิกัดกองอาโปธาตุ ประจำสมุฏฐานอาโป (ธาตุน้ำ ๑๒ กอง)

๑) แก้อาโปธาตุกำเริบ มีตัวยาดังนี้

ลูกมะขามป้อม หนัก ๑๖ ส่วน

รากช้าพลู หนัก ๘ ส่วน

ดอกดีปลี หนัก ๔ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง หนัก ๓ ส่วน

เถาสะค้าน หนัก ๒ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง หนัก ๑ ส่วน

เมล็ดพริกไทย หนัก ๑/๒ ส่วน (ใช้ระคนกัน)

๒)  แก้อาธาตุหย่อน มีตัวยาดังนี้

รากช้าพลู หนัก ๑๖ ส่วน

ดอกดีปลี หนัก ๘ ส่วน

ลูกมะขามป้อม หนัก ๔ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง หนัก ๓  ส่วน

รากเจตมูลเพลิง หนัก ๒ ส่วน    

เถาสะค้าน หนัก ๑ ส่วน

เมล็ดพริกไทย หนัก ๑/๒ ส่วน (ใช้ระคนกัน)

๓)  แก้อาโปธาตุพิการ มีตัวยามีดังนี้

ดอกดีปลี หนัก ๑๖ ส่วน

ลูกมะขามป้อม หนัก ๘ ส่วน

รากช้าพลู หนัก ๔ ส่วน

เถาสะค้าน หนัก ๓ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง หนัก ๒ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง หนัก ๑ ส่วน

เมล็ดพริกไทย หนัก ๑/๒ ส่วน (ใช้ระคนกัน)

พิกัดกองปถวีธาตุ ประจำสมุฏฐานปถวี  (ธาตุ ๒๐ กอง)

๑)  แก้ปถวีธาตุกำเริบ   มีตัวยาดังนี้

รากช้าพลู หนัก ๑๖ ส่วน

ดอกดีปลี หนัก ๘ ส่วน

เถาสะค้าน หนัก ๔ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง หนัก ๓ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง หนัก ๒ ส่วน

เมล็ดพริกไทย หนัก ๑ ส่วน

ลูกสมอพิเภก หนัก ๑/๒ ส่วน

ลูกสมอไทย หนัก ๑/๒ ส่วน มหาพิกัดตรีผลา

ลูกมะขามป้อม หนัก ๑/๒ ส่วน (ใช้ระคนกัน)

๒)  แก้ปถวีธาตุหย่อน มีตัวยาดังนี้

ดอกดีปลี หนัก ๑๖ ส่วน

เถาสะค้าน หนัก ๘ ส่วน

รากช้าพลู หนัก ๔ ส่วน

เมล็ดพริกไทย หนัก ๓ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง หนัก ๒ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง หนัก    ๑ ส่วน

ลูกสมอพิเภก หนัก ๑/๒ ส่วน

ลูกสมอไทย หนัก ๑/๒ ส่วน มหาพิกัดตรีผลา

ลูกมะขามป้อม หนัก ๑/๒ ส่วน (ใช้ระคนกัน)

๓) แก้ปถีธาตุพิการ มีตัวยาดังนี้

เถาสะค้าน หนัก ๑๖ ส่วน

รากช้าพลู หนัก ๘ ส่วน

ดอกดีปลี หนัก ๔ ส่วน

เหง้าขิงแห้ง หนัก    ๓ ส่วน

เมล็ดพริกไทย หนัก ๒ ส่วน

รากเจตมูลเพลิง หนัก ๑ ส่วน

ลูกสมอพิเภก หนัก ๑/๒ ส่วน

ลูกสมอไทย หนัก ๑/๒ ส่วน มหาพิกัดตรีผลา

ลูกมะขามป้อม หนัก ๑/๒ ส่วน (ใช้ระคนกัน)

ยาประสะกะเพรา

วัตถุส่วนประกอบ พริกไทย ขิง ดีปลี กระเทียม น้ำประสานทองสะตุ หนักสิ่งละ ๒ กรัม ชะเอมเทศ หมาหิงคุ์ หนักสิ่งละ ๘ ส่วน เกลือสินเธาว์ หนัก ๑ ส่วน ผิวมะกรูด หนัก ๒๐ ส่วน ใบกะเพรา หนัก ๔๗ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๑ กรัม

สรรพคุณ แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ละลายน้ำสุก หรือน้ำใบกะเพราต้ม แก้ท้องแน่น จุกเสียด ใช้ไพลเผาไฟพอสุก ฝนแทรก

ขนาดรับประทาน รับประทาน เช้า – เย็น

เด็กอายุ ๑ – ๓ เดือน ครั้งละ ๑ – ๒ เม็ด

เด็กอายุ ๔ – ๖ เดือน ครั้งละ ๒ – ๓ เม็ด

เด็กอายุ ๗ – ๑๒ เดือน ครั้งละ ๔ – ๕ เม็ด

ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

ยาเหลืองปิดสมุทร

วัตถุส่วนประกอบ  แห้วหมู  ขมิ้นอ้อย  เปลือกเพกา  รากกล้วยตีบ  กระเทียมคั่ว  ดีปลี  ชันอ้อย  ชันย้อย  ครั่ง  สีเสียดเทศ ใบเทียน  ใบทับทิม  หนักสิ่งละ  ๑  ส่วน ขมิ้นชัน  หนัก ๖ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๑ กรัม

สรรพคุณ แก้ท้องเสีย ใช้น้ำเปลือกลูกทับทิม หรือเปลือกแคต้มกับน้ำปูนใส

เป็นกระสาย ถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ให้ใช้น้ำสุกแทน

ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๓ เวลา ก่อนอาหาร

เด็กอายุ ๓ – ๕ เดือน ครั้งละ ๒ เม็ด

เด็กอายุ ๔ – ๖ เดือน ครั้งละ ๓ – ๔ เม็ด

เด็กโต ครั้งละ ๕ – ๗ เม็ด

ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

ยาหอมอินทจักร์

วัตถุส่วนประกอบ สะค้าน รากช้าพลู ขิง ดีปลี รากเจตมูลเพลิง ลูกผักชีลา โกฐสอ โกฐเขมา โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐจุฬาลัมพา โกฐเชียง โกฐกักกรา โกฐน้ำเต้า โกฐกระดูก เทียนดำ เทียนขาว เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนเยาวพาณี จันทน์แดง จันทน์เทศ เถามวกแดง เถามวกขาว รากหญ้านาง เปลือกชะลูด อบเชย เปลือกสมุลแว้ง กฤษณา กระลำพัก บอระเพ็ด ลูกกระดอม กำยาน ขอนดอก ชะมดเช็ด ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู รากไคร้เครือ ลำพันแดง ดอกสารภี ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกจำปา ดกกระดังงา ดอกมะลิ ดอกคำไทย ฝางเสน ดีงูเห่า ดีหมูป่า ดีวัว พิมเสน สิ่งละ ๑ ส่วน

วิธีทำ ชนิดผง บดเป็นผง

ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม    

สรรพคุณ แก้ลมบาดทะจิต ใช้น้ำดอกมะลิ

แก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้น้ำลูกผักชี เทียนดำต้ม ถ้าไม่มีใช้น้ำสุก

แก้ลมจุกเสียด ใช้น้ำขิงต้ม

ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๓ ชั่วโมง

ชนิดผง ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ

ชนิดเม็ด ครั้งละ ๕ – ๑๐ เม็ด

ขนาดบรรจุ ชนิดผง ๑๕ กรัม

ชนิดเม็ด ๓๐ เม็ด

ยาประสะไพล

วัตถุส่วนประกอบ ผิวมะกรูด ว่านน้ำ กระเทียม หัวหอม พริกไทย ดีปลี ขิง ขมิ้นอ้อย เทียนดำ เกลือสินเธาว์ หนักสิ่งละ ๘ ส่วน การบูร หนัก ๑ ส่วน ไพล หนัก ๘๑ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง

สรรพคุณ แก้จุกเสียด แก้ระดูไม่ปกติ ขับน้ำคาวปลา

ขนาดรับประทาน รับประทาน วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร

ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก หรือน้ำสุรา

ขนาดบรรจุ ๓๐ กรัม

ยาหอมเนาวโกฐ

วัตถุส่วนประกอบ ขิงแห้ง ดีปลี เจตมูลเพลิง สะค้าน ช้าพลู หนักสิ่งละ ๓ ส่วน แห้วหมู โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ สักขี ลูกราชดัด ลูกสารพัดพิษ ลูกกระวาน กานพลู ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ จันทน์เทศ จันทน์แดง อบเชยญวน เปลือกสมุลแว้ง หญ้าตีนนก แฝกหอม เปลือกชะลูด เปราะหอม รากไคร้เครือ เนื้อไม้ ขอนดอก กระลำพัก เนื้อลูกมะขามป้อม เนื้อลูกสมอพิเภก ชะเอมเทศ ลูกผักชีลา ลูกกระดอม บอระเพ็ด เกสรบัวหลวง เกสรบุนนาค ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกมะลิ แก่นสน หนักสิ่งละ ๔ ส่วน น้ำประสานทองสะตุ หนัก ๒ ส่วน ชะมดเช็ด พิมเสน หนักสิ่งละ ๑ ส่วน

วิธีทำ ชนิดผง บดเป็นผง

ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม

สรรพคุณ แก้ลมคลื่นเหียน อาเจียน ใช้น้ำลูกผักชี เทียนดำต้ม

แก้ลมปลายไข้ ใช้ก้านสะเดา ลูกกระดอม และบอระเพ็ด ต้มเอาน้ำ

ถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ใช้น้ำสุกแทน

ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๓ ชั่วโมง

ชนิดผง ครั้งละ ๑/๒ – ๑ ช้อนกาแฟ

ชนิดเม็ด ครั้งละ ๕ – ๑๐ เม็ด

ขนาดบรรจุ ชนิดผง ๑๕  กรัม

ชนิดเม็ด  ๓๐  เม็ด

ยาวิสัมพยาใหญ่

วัตถุส่วนประกอบ ลูกผักชีลา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ หนักสิ่งละ ๘ ส่วน กระวาน กานพลู โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา อบเชย สมุลแว้ง สมอเทศ สมอไทย           รากไคร้เครือ ว่านน้ำ บอระเพ็ด ขิงแห้ง พญารากขาว หนักสิ่งละ ๒ ส่วน ดีปลี หนัก ๕๖ ส่วน น้ำระสานทองสะตุ หนัก ๑ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง

สรรพคุณ แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ จุกเสียด

ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๔ ชั่วโมง

ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ใช้น้ำสุกเป็นกระสาย

หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน

ขนาดบรรจุ ๑๕  กรัม

ยาธาตุบรรจบ

วัตถุส่วนประกอบ ขิง โกฐเขมา โกฐพุงปลา โกฐเชียง โกฐสอ เทียนดำ เทียนขาว เทียนสัตตบุษย์ เทียนเยาวพาณี เทียนแดง ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู การบูร เปลือกสมุลแว้ง ลูกกระวาน ลูกผักชีลา ใบพิมเสน รากไคร้เครือ ดีปลี เปราะหอม หนักสิ่งละ ๔ ส่วน โกฐก้านพร้าว หนัก ๘ ส่วน เนื้อลูกสมอไทย หนัก ๑๖ ส่วน น้ำประสานทองสะตุ หนัก ๑ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง

สรรพคุณ แก้ธาตุไม่ปกติ ท้องเสีย ใช้เปลือกแคหรือเปลือกสะเดา หรือ

เปลือกลูก ทับทิม ต้มกับน้ำปูนใส แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ใช้กระเทียม

๓ กลีบ ทุบชงน้ำร้อน หรือ ใช้ใบกระเพรา ต้มเป็นกระสาย ถ้าหาก

น้ำกระสายไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน

ขนาดรับประทาน รับประทาน วันละ ๓ เวลา ก่อนอาหาร

ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ

เด็ก ครั้งละ ๑ – ๒ ช้อนกาแฟ

ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

ยาประสะกานพลู

วัตถุส่วนประกอบ เทียนดำ เทียนขาว โกฐสอ โกฐกระดูก กำมะถันเหลือง การบูร รากไคร้เครือ เปลือกเพกา เปลือกขี้อาย  ใบกระวาน  ลูกกระวาน  ลูกผักชีลา  แฝกหอม  ว่านน้ำ     หัวกระชาย  เปราะหอม  รากแจง  กรุงเขมา  หนักสิ่งละ ๔ ส่วน รากข้าวสาร เนื้อไม้ ลูกจันทน์ ขมิ้นชัน หนักสิ่งละ ๘ ส่วน ขิงแห้ง ดีปลี หนักสิ่งละ ๓ ส่วน น้ำประสานทองสะตุ ไพล เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ช้าพลู หนักสิ่งละ ๒ ส่วน เปลือกซิก หนัก ๑๐ ส่วน พริกไทยหนัก ๑ ส่วน กานพลู หนัก ๑๓๑ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง

สรรพคุณ แก้ปวดท้อง เนื่องจากธาตุไม่ปกติ ใช้ไพลเผาไฟฝนกับน้ำปูนใส

ถ้าหาน้ำกระสาย ไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน

ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๓ ชั่วโมง

ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟขนาดบรรจุ ๑๕  กรัม

ยามันทธาตุ

วัตถุส่วนประกอบ โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน รากไคร้เครือ ลูกผักชีล้อม ลูกผักชีลา การบูร กระเทียม เปลือกสมุลแว้ง เปลือกโมกมัน จันทน์แดง จันทน์เทศ กานพลู ดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง พริกไทยล่อน ลูกจันทน์ หนักสิ่งละ ๑ ส่วน ขิง ลูกเบญกานี หนักสิ่งละ ๓ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง

สรรพคุณ แก้ธาตุไม่ปกติ แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร

ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก

เด็ก ครั้งละ ๑/๒ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก

ขนาดบรรจุ ชนิดผง ๑๕ กรัม

ยาไฟประลัยกัลป์

วัตถุส่วนประกอบ พริกไทยล่อน ขิง ดีปลี กระเทียม หนักสิ่งละ ๔ ส่วน ขมิ้นอ้อย กะทือ ข่า ไพล เปลือกมะรุม หนักสิ่งละ ๕ ส่วน รากเจตมูลเพลิงแดง สารส้มแก่นขนสนทะเล การบูร        ผิวมะกรูด หนักสิ่งละ ๕ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง

สรรพคุณ ขับน้ำคาวปลา ในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่

ขนาดรับประทาน รับประทาน วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร

ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก หรือน้ำสุราขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

Krit Buapan

The Demonstration of Ramkhamhaeng University.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *