ขลู่ (หนาดวัว) ชื่อวิทยาศาสตร์ Pluchea indica (L.) Less.
ต้นขลู่ (หนาดวัว) ชื่อวิทยาศาสตร์ Pluchea indica (L.) Less.
–
@ สวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ สวนหลวง ร.9 กรุงเทพมหานคร
–
ขลู่ (หนาดวัว) ไม้พุ่มต้นเล็ก ๆ จำพวกหญ้า
ต้น รสเหม็นขื่น สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ
ใบ คั่วให้เกรียม รสหอมเย็น สรรพคุณ ชงน้ำรับประทาน ขับปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ
เปลือก รสเมาเบื่อเล็กน้อย สรรพคุณ ขับโลหิตประจำเดือน ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ แก้กามโรค
–
สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน
ขลู่
ชื่อท้องถิ่น หนวดงิ้ว หนาดงัว หนาดวัว (อุดรธานี) ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน) คลู (ใต้)
ลักษณะของพืช ขลู่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ยอดและใบสีเขียวอ่อน ใยกลมมน ปลายใบหยัก ดอกออกเป็นช่อประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ สีขาวอมม่วง
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใช้ทั้งห้า ทั้งสดและแห้ง (นิยมใช้เฉพาะใบ)
รสและสรรพคุณยาไทย สรรพคุณขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ
วิธีใช้ ใช้เป็นยาแก้อาการขัดเบา วันละ ๑ กำมือ (สดหนัก ๔๐ – ๕๐ กรัม แห้งหนัก ๑๕ – ๒๐ กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำดื่ม วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ ๑ ถ้วยชา (หรือ ๗๕ มิลลิลิตร)
–
ตัวยารสจืด แก้เสมหะและปัสสาวะ ตัวยาและสรรพคุณ เช่น
๑. ต้นผักกาดน้ำ รสจืด ขับปัสสาวะ แก้ช้ำรั่ว
๒. หญ้าถอดปล้อง รสจืด ขับปัสสาวะ แก้มุตกิด
๓. ราก และตาไม้ไผ่ป่า รสจืด ขับปัสสาวะ และแก้ไตพิการ
๔. รากต่อไส้ รสจืด แก้ปัสสาวะ และแก้ไตพิการ
๕. ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค รสจืด ขับปัสสาวะ แก้ช้ำรั่ว แก้กระษัยกล่อน
๖. รากไทรย้อย รสจืด ขับปัสสาวะ แก้กระษัยไตพิการ
๗. รากแตงหนู รสจืด แก้ปัสสาวะพิการ แก้เสมหะ
๘. แก่นปรู แส้ม้าทลาย รสจืด แก้น้ำเหลืองเสีย แก้พิษประดง แก้เสมหะพิการ
๙. ต้นขลู่ รสจืด แก้กระษัยกล่อน แก้ปัสสาวะพิการ
๑๐. เถาตำลึง รสจืดเย็น แก้ไข้ที่มีพิษ แก้โรคตา ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
–
The Demonstration of Ramkhamhaeng University.