กะเพรา (แดง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum tenuiflorum L.
ต้นกะเพรา (แดง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum tenuiflorum L.
กะเพราทั้ง ๒ (ขาว-แดง) ไม้ต้นเล็ก
ใช้ทั้ง ๕ รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ
ตัวยาที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน
กะเพรา มีสรรพคุณเสมอกับ แมงลัก
สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน
กะเพรา
ชื่อท้องถิ่น กะเพราขาว , กะเพราแดง (กลาง) , กอมก้อ (เหนือ)
ลักษณะของพืช เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก โคนต้นที่แก่เป็นไม้ที่เนื้อแข็ง ลำต้นและใบมีขนอ่อน ใยมีกลิ่นหอมฉุนรูปร่างรี ปลายใบและโคนใบแหลมหรือมนเล็กน้อย ขอบใบหยัก ดอกออกเป็นช่อ ดอกย่อยออกรอบแกนกลางเป็นชั้น ๆ กะเพราปลูกเป็นพืชสวนครัวมีอยู่ทั่วไป มีกะเพราขาวและกะเพราะแดง กะเพราะขาวมีส่วนต่างๆเป็นสีเขียว ส่วนกะเพราแดงจะมีส่วนต่างๆเป็นสีเขียวอมม่วงแดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดหรือแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บยา เก็บใบสมบูรณ์เต็มที่ ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป
รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียดในท้อง ใช้แต่งกลิ่นแต่งรสได้
วิธีใช้ ใบกะเพราแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดและปวดท้อง โดยใช้ใบและยอดกะเพรา ๑ กำมือ (ถ้าสดหนัก ๒๕ กรัม แห้งหนัก ๔ กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มเหมาะสำหรับเด็กท้องอืด หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ท้องอืดก็ได้ จำนวนยาและวิธีใช้แบบเดียวกันนี้ ใช้แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติได้
ยารสประธาน
ยาขนานใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว รสร้อน ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์ ธาตุที่รสร้อน เช่น เบญจกูล ตรีกฏุก เหง้าขิง กะเพรา มาปรุงเป็นยารสร้อน เช่น ยาไฟประลัยกัลป์ ยาสัณฑฆาต ยาประสากานพลู ยาประจุวาโย เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณแก้ในกองวาโยธาตุ (ธาตุลม) แก้ลมกองหยาบ ลมจุกเสียดแน่น ลมพรรรดึก บำรุงธาตุ ใช้สำหรับแก้ไข้ในกองฤดูฝน
พวกที่ต่างกันที่สี
กะเพราทั้ง ๒ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว
พิกัดปิตตะผล คือ จำนวนผลแก้ลม ๓ อย่าง คือ
รากเจตมูลเพลิง
รากกะเพรา
ผักแพวแดง (บอระเพ็ด)
สรรพคุณ แก้จตุกาลเตโช บำรุงธาตุ แก้ลม แก้เส้นประสาทพิการ ปวดเมื่อยตามข้อ
พิกัดตรีสันนิบาตผล (ตรีโลหิตะพละ) คือ จำนวนผลแก้สันนิบาต ๓ อย่างคือ
ผลดีปรี
รากกะเพรา
รากพริกไทย
สรรพคุณ แก้ไขสันนิบาต แก้ในกองลม บำรุงธาตุ แก้ปถวี ๒๐ ประการ
น้ำกระสายยาแก้โรคต่าง ๆ
แก้ท้องขึ้น เอากะเพรา ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
แก้ชีพจร เอารากกะเพรา ฝนกับน้ำดอกมะลิ เป็นกระสายยา
ยาประสะกะเพรา
วัตถุส่วนประกอบ พริกไทย ขิง ดีปลี กระเทียม น้ำประสานทองสะตุ หนักสิ่งละ ๒ กรัม ชะเอมเทศ หมาหิงคุ์ หนักสิ่งละ ๘ ส่วน เกลือสินเธาว์ หนัก ๑ ส่วน ผิวมะกรูด หนัก ๒๐ ส่วน ใบกะเพรา หนัก ๔๗ ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๑ กรัม
สรรพคุณ แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ละลายน้ำสุก หรือน้ำใบกะเพราต้ม แก้ท้องแน่น
จุกเสียด ใช้ไพลเผาไฟพอสุก ฝนแทรก
ขนาดรับประทาน รับประทาน เช้า – เย็น
เด็กอายุ ๑ – ๓ เดือน ครั้งละ ๑ – ๒ เม็ด
เด็กอายุ ๔ – ๖ เดือน ครั้งละ ๒ – ๓ เม็ด
เด็กอายุ ๗ – ๑๒ เดือน ครั้งละ ๔ – ๕ เม็ดขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด
ยาประสะมะแว้ง
วัตถุส่วนประกอบ สารส้ม หนัก ๑ ส่วน ขมิ้นอ้อย หนัก ๓ ส่วน ใบสวาด ใบตานหม่อน ใบกะเพรา หนักสิ่งละ ๔ ส่วน ลูกมะแว้งต้น ลูกมะแว้งเครือ หนักสิ่งละ ๘ ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง ผสมน้ำสุกแทรกพิมเสนพอควร ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
สรรพคุณ แก้ไอ แก้เสมหะ ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือรับประทานหรือใช้อม
ขนาดรับประทาน ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑ – ๒ เม็ด
เด็ก ครั้งละ ๕ – ๗ เม็ด
ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด
แก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ (ใช้กระเทียม ๓ กลีบ ทุบ ชงน้ำร้อน หรือใช้ใบกะเพรา ต้มเป็นกระสาย)
The Demonstration of Ramkhamhaeng University.