พืชจำพวกผักพืชวัตถุสมุนไพร.ไทยหลักเภสัช ๔ ประการเภสัชวัตถุ

ผักเสี้ยนผี ชื่อวิทยาศาสตร์ Cleome viscosa L.

ต้นผักเสี้ยนผี ชื่อวิทยาศาสตร์ Cleome viscosa L.

@ เสรีไทย คลองกุ่ม บึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

ผักเสี้ยนผี ไม้ต้นเล็ก ๆ

ต้น รสขมร้อนเหม็นเขียว สรรพคุณ ทำให้หนองแห้ง

ใบ รสขม สรรพคุณ แก้ปัสสาวะพิการ

ดอก รสขมขื่น สรรพคุณ ฆ่าพยาธิผิวหนัง

ลูก รสเมา สรรพคุณ ฆ่าพยาธิ

ราก รสร้อนขื่นเล็กน้อย สรรพคุณ แก้สตรีผอมแห้งเนื่องจากอยู่ไฟไม่ได้ แก้ฝีในท้อง

ใช้ทั้ง ๕ สรรพคุณ คุมธาตุ แก้ลม แก้ปวดท้อง เจริญไฟธาตุ แก้ท้องร่วง แก้ฝีในตับ ปอด ฝีในลำไส้ ขับหนองฝี

ตัวยาเรียกได้หลายชื่อ

ตัวยาที่เรียกได้ ๒ ชื่อนี้ มิได้เป็นมาตรฐานเท่าใดนัก บางตำราก็เรียกไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกับตำราที่กล่าวไว้นี้ เพราะด้วยประเทศถิ่นที่อยู่นั้น เรียกกันตามที่อยู่ของตนไป เมื่อรวมความแล้วก็เป็นตัวยา อย่างเดียวกัน มีชื่อจะกล่าวดังต่อไปนี้

ผักเสี้ยนผี เรียกอีกชื่อว่า ไปนิพพานไม่รู้กลับ

ตัวยาที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน

ตัวยาที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน หรือมีสรรพคุณเสมอกันนั้น สามารถนำมาใช้แทนกันได้ เพราะตัวยาบางอย่างที่ต้องการ หรือมีในตำรายานั้น ไม่มีหรือขาดไป หรือตัวยาบางอย่างต้องนำมาจากต่างประเทศ บางครั้งตัวยาเกิดขาดตลาด จะรอให้ส่งมาจากต่างประเทศ คนไข้ก็คงจะไม่ได้รับประทานยาเป็นแน่ ดังนั้นแพทย์และเภสัชกรแผนโบราณ จึงได้คิดค้นหาตัวยาบางอย่างที่พอหาได้ พอจะมีสรรพคุณทัดเทียมกัน เพื่อจะได้นำมาปรุงเป็นยาเพื่อรักษาโรค ตัวยาที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน และพอจะใช้แทนกันได้นั้นมีดังนี้ คือ

ผักเสี้ยนทั้ง ๒ มีสรรพคุณเสมอกับ หญ้าพันงูทั้ง ๒

สมุนไพรที่เป็นพืชเศรษฐกิจ

ผักเสี้ยนผี

น้ำกระสายยาแก้โรคต่าง ๆ

แก้ทรางขึ้นทรวงอก เอาผักเสี้ยนผี ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา

Krit Buapan

The Demonstration of Ramkhamhaeng University.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *